Last updated: 17 ต.ค. 2566 | 1119 จำนวนผู้เข้าชม |
เนื้อผ้าสำหรับตัดเสื้อในท้องตลาดมีให้เลือกหลายแบบมาก และเชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินเนื้อผ้า Cotton (คอตตอน) TK (ทีเค) TC (ทีซี) และ CVC (ซีวีซี) เหล่านี้อย่างแน่นอน แต่ละเนื้อผ้าก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป แล้วผ้าแต่แบบแตกต่างกันอย่างไรล่ะ วันนี้ Uniform Warehouse จะมาช่วยไขคำตอบและบอกวิธีการแยกเนื้อผ้าแบบต่างๆ อย่างละเอียด รับรองหลังจากอ่านบทความนี้ คุณจะกลายเป็นกูรูเรื่องเนื้อผ้าเหล่านี้อย่างแน่นอน
สารบัญ
เนื้อผ้าทั้ง Cotton TK TC CVC มีเนื้อผ้า ผิวสัมผัสแตกต่างกัน คุณสมบัติที่โดดเด่น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของแต่ละเนื้อผ้า นอกจากนี้เนื้อผ้า Cotton TK TC CVC ยังเหมาะกับการนำไปทำเสื้อผ้าหลากหลาย มาลองดูรายละเอียดกันเลยค่ะ
ผ้า Cotton หรือ ผ้าฝ้าย คือผ้าเส้นใยธรรมชาติ เป็นเนื้อผ้าที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะผ้า Cotton 100% ทุกแบรนด์เสื้อผ้าต้องมีแน่นอน เพราะเนื้อผ้าคอตตอนมีจุดเด่นที่ต้องยกให้เป็นเบอร์หนึ่งคือเรื่องการระบายอากาศได้ดี ใส่สบายตัวสุด จึงทำให้มีราคาสูงกว่าเนื้อผ้าตัวอื่น ๆ เหมาะกับการตัดเสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อเชิ้ต
ผ้า TK หรือผ้าโพลีเอสเตอร์ผลิตจากสารตั้งต้นที่มาจากปิโตรเลียมเส้นใยสังเคราะห์ประเภทเทอร์โมพลาสติก มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนเส้นใยธรรมชาติ ระบายอากาศไม่ดี เนื้อผ้ามีความมันเงา เมื่อซักไปสักระยะ เนื้อผ้าจะขึ้นขุย ราคาถูกสุดและหาซื้อง่ายในท้องตลาด นิยมตัดเสื้อกีฬา เสื้อฟุตบอล เสื้อบาส เสื้อวิ่งและที่สำคัญคือเสื้อพิมพ์ซับลิเมชั่นที่ต้องใช้ผ้า TK เท่านั้นค่ะ
ผ้า TC เป็นเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมระหว่างผ้าโพลีเอสเตอร์ 65% -70% และผ้าคอนตอน 30%-35% ถือว่าเอาข้อดีของทั้ง 2 เนื้อผ้าอย่างผ้าเส้นใยธรรมชาติและผ้าเส้นใยสังเคราะห์มาผสมกัน จะควบคุมการยืดหดได้ดีกว่าผ้า cotton และเนื้อผ้ายับยากแบบผ้า TK (ผ้าโพลีเอสเตอร์) เนื้อผ้า TC สามารถตัดเสื้อโปโล เสื้อยืด เสื้อพิมพ์ซับลิเมชั่นได้เช่นกันแต่สีอาจจะไม่เข้มมาก
ผ้า CVC คือเนื้อผ้าที่ผสมระหว่างคอตอน 70%-80% และผ้าโพลีเอสเตอร์ 15%-30%หลายคนจึงเลือกผ้า CVC ให้ความรู้สึกคล้ายผ้าคอตตอนสามารถใช้ทดแทนได หลายคนจึงเลือกใช้ผ้า CVC เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเสื้อผ้า
สุดท้าย ได้อ่านรายละเอียดความแตกต่างของเนื้อผ้า Cotton TK TC CVC กันไปแล้วนะคะ เห็นไหมล่ะคะว่าการแยกเนื้อผ้าแต่ละแบบสามารถแยกได้ไม่ยากเลยค่ะ แถมยังได้รู้ข้อดีและข้อเสียของเนื้อผ้าแต่ละประเภทด้วย สำหรับใครที่กำลังจะทำแบรนด์เสื้อผ้าก็สามารถเอาความรู้เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้เลือกเนื้อผ้าให้เหมาะกับแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองได้ หรือแม้แต่คนทั่วๆ ไป เราก็สามารถเอาความรู้ที่ได้ไปเลือกเนื้อผ้าสำหรับเสื้อผ้าที่จะใส่ในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ความรู้ให้กับทุกคนได้นะคะ
15 ก.ย. 2566
14 ส.ค. 2566
20 ก.ค. 2566
7 ก.ย. 2566