Last updated: 22 ก.ย. 2566 | 1936 จำนวนผู้เข้าชม |
เทคนิคการพิมพ์ลายเสื้อที่อยากมาแนะนำวันนี้คือ การพิมพ์ dtf การพิมพ์สกรีนด้วยระบบคอมพิวเตอร์สีสดคมชัด แถมประหยัดเวลา ไม่ต้องพึ่งบล็อกสกรีนต่อไป
สารบัญ
ก่อนอื่นหลายคนคงเคยได้ยินคำเรียกเทคนิคพิมพ์ลายงานสกรีน dtf และงานสกรีน dft แล้วก็สงสัยว่าการพิมพ์ทั้ง 2 แบบแตกต่างกันอย่างไร ความจริงก็คืองานพิมพ์ DTF (Direct to Film) และงานพิมพ์ DFT (Digital Film Trannsfer) เป็นงานพิมพ์แบบเดียวกันแต่เรียกต่างกันเท่านั้นเอง สรุปก็คือ งานพิมพ์ dtf คือ งานพิมพ์สกรีนรูปด้วยหมึกพิเศษ (Inkjet No Cut) พิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มและโรยผงกาวเพื่อทำให้หมึกยึดติดกับตัวผ้าเมื่อนำไปรีดฟิล์มทรานเฟอร์ ซึ่งสีที่ได้จะไม่ซึมลงไปในเนื้อผ้า แต่เป็นการยึดติดกับเนื้อผ้า นอกจากนี้ งานพิมพ์ dft ยังสามารถพิมพ์ได้บนวัสดุหลากหลายประเภทหรือพิมพ์ลงบนผิวโค้งก็ได้ เช่น หมวก หมวกกันน็อก กระติกน้ำ เป็นต้น
ขั้นตอนการพิมพ์งานสกรีน dtf ไม่ยุ่งยาก มีขั้นตอนในการทำ ดังนี้
1. พิมพ์รูปลงบนแผ่นฟิล์มใสเปล่าๆ พิมพ์ด้วยหมึกแบบพิเศษสำหรับการพิมพ์ Dtf (หมึก Inkjet No Cut) เทคนิคคือการพิมพ์สีลงไปก่อนตามด้วยหมึกขาว
2. โรยผงกาวลงบนแผ่นฟิล์ม ผงกาวจะมีคุณสมบัติยึดติดกับเนื้อผ้า
3. อบผงกาวเพื่อให้หมึกละลาย ก่อนนำไปรีดด้วยความร้อนประมาณ 170-180 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
4. ลอกแผ่นฟิล์มออก หมึกจากรูปภาพบนแผ่นฟิล์มจะละลายและยึดติดลงบนเนื้อผ้า
สำหรับเนื้อผ้าที่เหมาะสมในการสกรีน dtf นี้สามารถใช้เนื้อผ้าได้ทุกประเภททั้งผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าคอตตอน ผ้า TK ผ้า TC ผ้าไนลอน เป็นต้น สีเรียบเนียน เก็บรายละเอียดได้คมชัด นอกจากนี้ ยังไม่ต้องกังวลเรื่องของการพิมพ์บนผ้าสีทึบ การสกรีน Dtf สามารถพิมพ์ได้ตามปกติ เพราะมีการพิมพ์ด้วยหมึกขาวลงไปรองพื้น ทำให้สามารถพิมพ์บนผ้าสีเข้มได้ สีไม่จม และไม่ทำให้สีเพี้ยน
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่าการพิมพ์ dtf เป็นการพิมพ์ที่ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนจะมีแต่ข้อดีใช่มั้ยคะ แต่จริงๆ แล้วงานสกรีน dtf ก็มีข้อเสียเหมือนกัน มาดูกันดีกว่าว่าข้อดีและข้อเสียมีอะไรบ้าง
1.ไม่ต้องทำบล็อค หรือไดคัท
2.สามารถพิมพ์บนเนื้อผ้าหลากหลาย
3. สีติดเรียบเนียนไปกับตัวผ้า
4. สีสดภาพคมชัด ลายติดทน
5. ทนทานต่อการซัก (30 ครั้งขึ้นไปขึ้นอยู่กับการซักของแต่ละคน)
1. ใช้ไฟล์ในการทำงาน ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ
2. เสื้อผ้าส่วนที่ถูกสกรีนจะมีความทึบ ไม่ระบายอากาศ
3. ใช้ไฟเยอะ
7 ก.ย. 2566
17 ต.ค. 2566
15 ก.ย. 2566
14 ส.ค. 2566